วันศุกร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

มาตราฐานการใช้เครื่องจักรเพื่อบดอัด ในไทย






รถบดอัด

          ถึงแม้ว่าปัจจุบันความสามารถของเครื่องจักรจะมีการพัฒนาไปมาก จนสามารถควบคุมการบดอัดดินในภาคสนามได้โดยแสดงผลผ่านมอนิเตอร์ เพื่อให้ผู้ใช้งานทราบถึงความแน่นของชั้นดิน เพิ่มน้ำหนักการบดอัดโดยการเพิ่มความถี่ของการบดให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งอดีตรถบดล้อเรียบสามารถให้น้ำหนักบดอัดได้ประมาณ 10-15 ตัน แต่ปัจจุบันพัฒนาการเพิ่มความถี่สามารถเพิ่มน้ำหนักได้ถึง 25 ตันแต่ปัญหาที่เกิดขึ้นกับผู้ใช้งานในไทยนั้นคือ ผู้ใช้ยังไม่สามารถพัฒนาตนเองให้รู้เท่าทันเทคโนโลยี และคุณสมบัติพื้นฐานของวัสดุที่ใช้งาน "พูดง่ายๆคือ คนงานคนไหนขับรถเป็นก็ขับรถไป หรือนำคนงานมาฝึกขับสักอาทิตย์หรือทำงานสักโครงการหนึ่งได้ก็จับเป็นคนขับประจำ"

          ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น เพราะค่าใช้จ่ายเป็นอันดับหนึ่งที่ผู้รับเหมาโดยทั่วไปคำนึงถึง "หากผมเป็นผู้รับเหมาผมก็ทำเช่นนั้น ฮ่าๆ "  รถบดคันหนึ่งราคาสูงหลักล้านบาท นี่ยังไม่รวมเครื่องจักรอื่นๆที่ทำงานร่วมกัน ค่าน้ำมันเชื้อเพลิงอีก  หากจ้างคนขับรถที่มีความรู้ในด้านวัสดุมาทำงานร่วมด้วยค่าใช้จ่ายย่อมสูงขึ้นเป็นเงาตามตัว และยังมีเหตุผลเรื่องสังคมนิยมเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย อันนี้ผมไม่ขอพูดถึงดีกว่า เพราะเป็นปัญหาต้นเหตุที่ผมไม่สามารถแก้ไขได้ "เอาเป็นว่าเรามาแก้ไขปัญหาที่เราสามารถทำได้ดีกว่า"
          ด้วยเหตุผลดังกล่าวมาแล้ว จึงทำให้นักวิชาการผู้ชำนาญงานวิศวกรรมงานทางในประไทย เห็นพ้องต้องกันในการกำหนดมาตรฐานการใช้เครื่องจักรบดอัดในไทย คือไม่ว่าเครื่องจักรสำหรับบดอัดจะรุ่นใหม่แค่ไหนก็ตาม กำหนดให้บดอัดได้หนาไม่เกิน 15 ซม. สำหรับงานดินตลอดจนชั้นพื้นทาง หากต้องการบดหนามากกว่านี้ก็ต้องทำแปลงทดลอง และยังควบคุมต่ออีกว่าถึงทำแปลงทดลองก็ต้องบดที่ความหนาไม่เกิน 20 ซม. (ยกเว้นงานพิเศษที่มีการควบคุมอย่างเข้มงวด) เป็นมาตราฐานที่หน่วยงานราชการในบ้านเรากำหนดให้ใช้เพื่อลดปัญหา 3ค " คน  เครื่องจักร และความแปรปรวนทางธรรมชาติ"

"วิศวกรเอมพีริเคิล"

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น